The Picture of Dorian Gray
ความที่เป็นหนังสือคลาสสิกมีคนพิมพ์มาแล้วหลายยุคหลายสมัย ในประเทศไทยเองก็เคยมีฉบับก่อนหน้านี้ เมื่อลองค้นคว้าดูก็พบว่าปกส่วนใหญ่ของนิยายเรื่องนี้ใช้วิธีการสะท้อนความฟอนเฟะของมนุษย์และสังคม โดยรอบด้วยภาพเขียน ความฟอนเฟะ ด้านมืด สื่อสารความหมายของเรื่องมายาวนาน เราอยากหลีกเลี่ยงภาพจำดังกล่าว จึงพยายามค้นหาการสื่อสารเนื้อหาของเรื่องใหม่จนพบว่า ตัวละครของในเรื่องนั้นมีชีวิตอยู่ในช่วงยุควิคทอเรียน จึงหยิบเอาชิ้นส่วนของแพทเทิร์นเสื้อผ้า ในยุคนั้นมาเป็นตัวแทนการอธิบายเปลือกที่ห่อหุ้มมนุษย์ คิดเอาว่าน่าจะสื่อสารถึงความฟอนเฟะที่อยู่ภายในได้เช่นกัน จากนั้นจึงนำเอาชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านั้นมาประกอบร่างขึ้นใหม่ให้ดูเป็นหน้าคนที่พิลึกพิลั่น ขณะที่ขั้นตอนการพิมพ์ก็ใช้เทคนิคปั้มจมชิ้นส่วนเหล่านั้นให้ดูลึกลงไปคล้ายหน้าตาของปีศาจที่อยู่เบื้องหลังมนุษย์
It is a classic novel that has been reprinted many times and even in Thailand a reprinted edition also can be found. When we did some research, we found that many of its book cover usually reflect an image of rotten human and society. To erase such image, we decided to study the novel more carefully and then we realized how the story mirrored the Victorian era. We interpret Victorian- patterned cloth as a peel that covers a human’s fresh. To communicate an evil within, each pattern we choose is presented through a strange face by applying a printing technique called debossing, creating a devil-like image that lies within.